เมนู

อรรถกถานวกนิบาต


1. วัฑฒมาตุเถรีคาถา

1

ใน นวกนิบาต คาถาว่า มา สุ เต วฑฺฒ โลกมฺหิ เป็นต้น
เป็นคาถาของ พระวัฑฒมาตุเถรี มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
พระเถรีแม้รูปนี้ ก็บำเพ็ญบารมีมาในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ
สร้างสมกุศลอันเป็นอุปนิสัยแห่งพระนิพพานมาในภพนั้น ๆมีสัมภารธรรมเครื่อง
ปรุงแต่งวิโมกข์ซึ่งรวบรวมมาตามลำดับ ในพุทธุปบาทกาลนี้ ก็บังเกิดในเรือน
สกุลในภารุกัจฉนคร เจริญวัยแล้วก็มีสามี คลอดบุตรคนหนึ่ง บุตรนั้นมีชื่อว่า
วัฑฒะ นับตั้งแต่นั้น เขาก็เรียกนางว่าวัฑฒมาตา นางฟังธรรมในสำนัก
ภิกษุณี ได้ศรัทธา ก็มอบบุตรแก่พวกญาติ แล้วก็อยู่อาศัยสำนักภิกษุณี
เรื่องมาในบาลีเท่านั้น ส่วนพระวัฑฒเถระบุตรของตน ที่รีบร้อนเข้ามาเยี่ยม
ตนในสำนักภิกษุณีแต่ลำพัง พระเถรีนี้ก็ตักเตือนว่า เหตุไรเจ้าจึงรีบร้อนมา
ในที่นี้แต่ลำพัง เมื่อจะสั่งสอนจึงกล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
พ่อวัฑฒะ ตัณหาความอยาก อย่าได้มีแก่พ่อ
ไม่ว่าในกาลไหนๆ เลย ลูกเอ๋ย พ่ออย่าได้เป็นภาคีมี
ส่วนแห่งทุกข์บ่อยๆ เลยนะพ่อ.
พ่อวัฑฒะ พระมุนีทั้งหลาย ไม่มีตัณหาตัดความ
สงสัยได้ เป็นผู้เยือกเย็น ถึงความฝึกฝน ไม่มีอาสวะ
อยู่เป็นสุข.

1. บาลีเป็น วัฑฒมาตาเถรี

พ่อวัฑฒะ พ่อจงพอกพูนมรรค ทางที่ท่านผู้แสวง
คุณเหล่านั้นประพฤติกันมาแล้วเพื่อบรรลุทัศนะ เพื่อ
ทำที่สุดทุกข์.

บรรดาบทเหล่านั้น ในคำว่า มา สุ เต วฑฺฒ โลกมฺหิ
วนโถ อหุ กุทาจนํ
คำว่า สุ เป็นเพียงนิบาต. ลูกวัฑฒะ ตัณหา
ความอยาก ในสัตว์โลก และสังขารโลก แม้ทั้งหมด อย่าได้มี อย่าได้เป็นแก่
ลูก แม้ในกาลไร ๆ เลย ในข้อนั้น พระเถรีกล่าวเหตุว่า ลูกเอ๋ย พ่ออย่ามี
ส่วนแห่งทุกข์มีการเกิดไป ๆ มาๆ เป็นต้นบ่อยๆ คือเมื่อยังตัดตัณหา ความ
อยาก ไม่ขาด ก็อย่าเป็นภาคีมีส่วนแห่งทุกข์ มีการเกิดไป ๆ มา ๆ เป็นต้น
บ่อย ๆ ซึ่งมีตัณหานั้นเป็นนิมิต พระเถรีครั้นแสดงโทษในการตัดกิเลสไม่ได้
อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอานิสงส์ในการตัดกิเลสได้ จึงกล่าวว่า สุขํ
หิ วฑฺฒ
เป็นต้น คำนั้นมีความว่า ลูกวัฑฒะ ท่านที่ชื่อว่ามุนี เพราะ
เป็นผู้ประกอบด้วยโมเนยยธรรม ชื่อว่า อเนชา เพราะไม่มีตัณหาที่ชื่อว่าเอชา
ชื่อว่า ตัดความสงสัยได้ เพราะละความสงสัยได้ด้วยโสดาปัตติมรรค ชื่อว่า
เยือกเย็น เพราะไม่มีความเร่าร้อนด้วยกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าถึงความฝึกฝน
เพราะบรรลุความฝึกฝนอันยอดเยี่ยมไม่มีอาสวะ คือสิ้นอาสวะแล้ว ย่อมอยู่
เป็นสุข บัดนี้ ทุกข์ทางใจของท่านเหล่านั้นไม่มี ต่อไปทุกข์แม้ทุกอย่างก็จัก
ไม่มีกันเลย.
เพราะเหตุที่เป็นอย่างนี้แหละ ฉะนั้น พระเถรีจึงกล่าวว่า เตหา-
นุจิณฺณํ อิสีหิ ฯลฯ อนุพฺรูหย
ความว่า พ่อวัฑฒะ พ่อจงพอกพูน
พึงจำเริญมรรค คือสมถวิปัสสนา ที่พระขีณาสพ ผู้แสวงคุณอันยิ่งใหญ่เหล่า
นั้น ประพฤติตามๆ กัน คือปฏิบัติกันมาแล้ว เพื่อบรรลุ ญาณทัศนะ เพื่อ
ทำที่สุดทุกข์ในวัฏฏะ แม้ทั้งหมด.

พระวัฑฒเถระฟังคำมารดานั้น แล้วคิดว่า โยมมารดาของเรา คงตั้ง
อยู่ในพระอรหัตแน่แล้ว เมื่อจะประกาศความข้อนั้น จึงกล่าวคาถาว่า
โยมมารดาบังเกิดเกล้ากล้ากล่าวความนี้แก่ลูก
โยมมารดา ลูกเข้าใจว่า ตัณหาของโยนมารดาคง
ไม่มีแน่ละ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า วิสารทา ว ภณสิ เอตมตฺถํ ชเนตฺติ
เม
ความว่า ท่านโยมมารดาบังเกิดเกล้ากล่าวความนี้ คือโอวาทนี้ว่า ลูกวัฑฒะ
ตัณหา ความอยาก ในโลก อย่าได้มีแก่ลูก ไม่ว่าในกาลไหน ๆ เลย ดังนี้
โยมมารดาเป็นผู้ปราศจากความขลาดกลัว ไม่ติดไม่ข้องในอารมณ์ไหน ๆ กล่าว
แก่ลูก ท่านโยมมารดา เพราะฉะนั้น ลูกจึงเข้าใจว่า ตัณหาของโยมมารดา
คงไม่มีแน่ละ อธิบายว่า ท่านโยมมารดา คือท่านโยมมารดาของลูก ลูก
เข้าใจว่า ตัณหาแม้เพียงความรักระหว่างครอบครัวของโยมมารดา คงไม่มีใน
ตัวลูก อธิบายว่า ตัณหาที่ยึดถือว่าของเราไม่มี.
พระเถรีฟังคำบุตรนั้นแล้ว กล่าวว่ากิเลสแม้เพียงเล็กน้อย ไม่มีใน
อารมณ์ไหนๆ ของแม่เลย ดังนี้ เมื่อจะประกาศความที่ตนทำกิจเสร็จแล้ว
จึงกล่าว 2 คาถา ดังนี้ว่า
พ่อวัฑฒะ สังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง มีทั้ง ต่ำ
สูง กลาง ตัณหาของแม่ในสังขารเหล่านั้น อณูหนึ่ง
ก็ดี ขนาดอณูหนึ่งก็ดี ไม่มีเลย.
แม่ผู้ไม่ประมาท เพ่งฌานอยู่ สิ้นอาสวะหมด
แล้ว วิชชา 3 ก็บรรลุแล้ว คำสอนของพระศาสดา
ก็กระทำเสร็จแล้ว.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เย เกจิ เป็นคำกล่าวความไม่มีกำหนด.
บทว่า สงฺขารา ได้แก่สังขตธรรม. บทว่า หีนา ได้แก่ ต่ำ น่ารังเกียจ.

บทว่า อุกฺกุฏฺฐมชฺณิมา ได้แก่ ประณีตและปานกลาง บรรดาสังขาร 3
นั้น สังขารที่ชรามรณะปรุงแต่ง ชื่อว่า ชั้นกลาง อีกนัยหนึ่ง สังขารที่
ฉันทะเป็นต้นอย่างเลวทำให้เกิด ชื่อว่า ชั้นต่ำ. ที่ฉันทะเป็นต้นอย่างกลางทำ
ให้เกิด ชื่อว่า ชั้นกลาง, ที่ฉันทะเป็นต้นอย่างประณีตทำให้เกิด ชื่อว่า ชั้นสูง.
อีกนัยหนึ่ง อกุศลธรรม ชื่อว่า ชั้นต่ำ, โลกุตรธรรม ชื่อว่า ชั้นสูง, นอกนี้
ชื่อว่า ชั้นกลาง. บทว่า อณูปิ อณุมตฺโตปิ ความว่า มิใช่แต่ตัณหาในตัวลูก
อย่างเดียวเท่านั้น ที่แท้ สังขารทุกอย่าง ต่างโดยชั้นต่ำเป็นตัณหาของแม่ใน
สังขารเหล่านั้นทั้งหมด อณูหนึ่งก็ดี ขนาดเท่าอณูหนึ่งก็ดี เล็กอย่างยิ่งก็ดี
ไม่มีเลย.
พระเถรีกล่าวเหตุในข้อนั้นว่า แม่ผู้ไม่ประมาทเพ่งฌานอยู่ ก็สิ้น
อาสวะหมดทุกอย่าง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปมตฺตสฺส ฌายโต
ได้แก่ ผู้ไม่ประมาทเพ่งฌานอยู่ คำนี้ท่านกล่าวไว้เป็นลิงควิปัลลาส ในคำนั้น
ประกอบความว่า เพราะเหตุที่วิชชา 3 แม่บรรลุแล้ว ฉะนั้น คำสอนของ
พระพุทธเจ้าจึงชื่อว่า แม่ทำเสร็จแล้ว เพราะเหตุที่แม่ไม่ประมาทเพ่งฌาน
ฉะนั้น อาสวะของแม่จึงหมดสิ้นไป ตัณหาของแม่อณูหนึ่งก็ดี ขนาดเท่าอณู
หนึ่งก็ดี จึงไม่มีเลย.
พระเถระกระทำโอวาทที่พระเถรีกล่าวแล้วให้เป็นดังขอช้าง [คอยสับ
ตน] เกิดความสลดใจ ก็ไปพระวิหารนั่งในที่พักกลางวัน เจริญวิปัสสนาแล้ว
ก็บรรลุพระอรหัต พิจารณาถึงการปฏิบัติของตน เกิดโสมนัส ก็ไปยังสำนักของ
โยมมารดา เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตจึงกล่าว 3 คาถา ดังนี้ว่า
โยมมารดา มอบปฏักอันโอฬารแก่ลูกแล้วหนอ
คือคาถาที่ประกอบด้วยปรมัตถ์ เหมือนคาถาอนุ-
เคราะห์.

ลูกฟังคำสอนของโยมมารดาบังเกิดเกล้า ก็ถึง
ความสลดใจในธรรม เพื่อบรรลุธรรมเกษมปลอดโปร่ง
จากโยคะกิเลส.
ลูกนั้น มีจิตเด็ดเดี่ยวด้วยความเพียร ไม่เกียจ-
คร้านทั้งกลางคืนกลางวัน อันโยมมารดาเตือนแล้ว ก็
สงบ สัมผัสสันติอันยอดเยี่ยม.

ครั้งนั้น พระเถรีครั้นทำถ้อยคำของตนให้เป็นประดุจขอช้าง [สับ
บุตรของตน] แล้ว มีจิตอันการบรรลุพระอรหัตของบุตรให้ยินดีแล้ว ก็กล่าว
ซ้ำคาถาที่บุตรนั้นกล่าวแล้วด้วยตนเอง คาถาแม้เหล่านั้นจึงกลายเป็นเถรีคาถา
ด้วยประการอย่างนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฬารํ ได้แก่ ไพบูลย์คือใหญ่ บทว่า
ปโตทํ ได้แก่ปฏักคือโอวาท. บทว่า สมวสฺสริ ประกอบความว่า ให้เป็น
ไปโดยชอบแล้วหนอ ถ้าจะถามว่าปฏักนั้นคืออะไร เพราะฉะนั้น พระเถระ
จึงกล่าวว่าคือคาถาที่ประกอบด้วยปรมัตถ์. พระเถระกล่าวหมายถึงว่า มา สุ
เต วฑฺฒ โลกมฺหิ
เป็นต้น. บทว่า ยถาปิ อนุกมฺปิกา ความว่า โยม
มารดาของลูก ประกาศปฏัก คือท่อนไม้คอยไล่ต้อนอันโอฬาร กล่าวคือ
คาถาชี้แจงถึงความเป็นไปและถอยกลับ ซึ่งปลุกใจด้วยกำลังญาณแก่ลูก เหมือน
คาถาที่อนุเคราะห์แม้อย่างอื่น ฉะนั้น.
บทว่า ธมฺมสํเวคมาปาทึ ได้แก่ ถึงความกลัว ความสลดใจ อย่าง
ยิ่งใหญ่ เพราะนำมาซึ่งภัยด้วยญาณ.
บทว่า ปธานปหิตตฺโต ได้แก่มีจิตมุ่งมั่นพระนิพพาน ด้วยการ
ประกอบสัมมัปปธาน 4. อย่าง. บทว่า อผุสึ สนฺตึมุตฺตมํ ความว่า สัมผัส
คือบรรลุสันติอันยอดเยี่ยม คือพระนิพพาน.
จบ อรรถกถาวัฑฒมาตุเถรีคาถา
จบ อรรถกถานวกนิบาต

เอกาทสกนิบาต


1. กิสาโคตมีเถรีคาถา


[464] พระกิสาโคตมีเถรีกล่าวว่า
เฉพาะโลก พระมุนีทรงสรรเสริญความเป็นผู้มี
กัลยาณมิตร คนเมื่อคบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาล ก็พึง
เป็นบัณฑิตได้บ้าง.
ควรคบแต่สัตบุรุษคนดี คนคบสัตบุรุษ ปัญญา
ย่อมเจริญได้เหมือนกัน คนคบสัตบุรุษจะพึงพ้นจาก
ทุกข์ได้ทุกอย่าง.
บุคคลพึงรู้จักอริยสัจ แม้ทั้ง 4 คือ ทุกข์ ทุกข-
สมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรคมีองค์ 8.

ยักษิณีตนหนึ่งกล่าวตำหนิความเป็นหญิงไว้ว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ทรงฝึกคนที่ควรฝึกตรัสว่า
ความเป็นหญิงเป็นทุกข์ แม้การเป็นหญิงร่วมสามีก็
เป็นทุกข์ หญิงบางพวกย่อมคลอดครั้งเดียว บางพวก
ก็เชือดคอตนเอง บางพวกที่เป็นสุขุมาลชาติละเอียด
อ่อน ทนทุกข์ไม่ได้กินยาพิษ สัตว์ในครรภ์และ
หญิงผู้มีครรภ์ ย่อมประสบความพินาศย่อยยับทั้งสอง
คน

พระปฏาจาราเถรีเล่าว่า